ถ้าสิวขึ้นบริเวณเหล่านี้ สันนิษฐานได้เลยว่า ใกล้ช่วงมีประจำเดือนแล้ว?
มักจะเกิดขึ้น 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน หรือเห่อมากขึ้นในช่วงที่มีความเครียด ลักษณะของสิวฮอร์โมน เป็นได้ทั้งสิวอักเสบ และสิวอุดตัน
สิวฮอร์โมนมักจะเกิดขึ้นที่เดิม บริเวณเดิมซ้ำ ๆ และเป็นเรื้อรัง โดยมักจะขึ้น 4 จุดดังนี้ค่ะ
1.หน้าผาก จมูกคาง บริเวณ T-Zone
2.บริเวณรอบปาก
3.บริเวณคาง
4.บริเวณกราม
สามารถดูแลรักษาได้ทั้งการใช้ยาทา มีทั้งกลุ่มที่ละลายหัวสิว และฆ่าเชื้อสิว
และการรักษาสิวฮอร์โมนด้วยการรับประทานยา เช่น ยาปฏิชีวนะ ชนิดกินเพื่อรักษาสิว มักต้องใช้ยานานหลายสัปดาห์จึงจะมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียก่อสิว ต้องกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจมีผลแทรกซ้อน และผลเสียต่อร่างกายได้
ยาคุมกำเนิด ที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน จะช่วยรักษาสิวได้ เนื่องจากตัวยาจะไปลดระดับฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลง ทำให้การผลิตไขมันจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังลดลง ซึ่งช่วยลดการเกิดสิว
ยากลุ่มวิตามินเอ เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษาสิวในช่วงที่เห่อมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การซื้อยารับประทาน ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวเราค้ะ
#ลดสิวหน้าใส #รักษาสิว #ผิวใส
#เรื่องของเธอ #herstories #เอสโตรเจน #โปรเจสเตอโรน #ฮอร์โมนเพศ #ฮอร์โมนแกว่ง #ประจำเดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง
Her Body
5 วิธี จัดการฮอร์โมนหิว โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน
พ.ย.
Her Face
อยากไว้ผมหน้าม้าแบบ ลิซ่า แต่ทำยังไงไม่ให้สิวขึ้น?
พ.ย.
Her Love
เซ็กส์ให้ปลอดภัย แบบไหนเหมาะกับคุณ
พ.ย.