น้ำหนักตัวเกิน เสี่ยงถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
.
ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริบกะปรอย ประจำเดือนขาดหายไป อาจนำไปสู่ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS) ซึ่งมักพบในวัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ
25 – 35 ปี หากไม่รีบรักษาอาจทำให้มีบุตรยาก เสี่ยงต่อการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต
โดยสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้ค่ะ
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน มาห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิน 6 – 8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด มาไม่ติดต่อกันนานเกิน 3 รอบในผู้หญิงที่ปกติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือมาไม่ติดต่อกัน 6 เดือนในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย มามากเกินไป มานานเกินไป อาจเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ
- ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่มีอยู่ในร่างกายทั้งของผู้ชายและผู้หญิง เมื่อผู้หญิงมีมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะขนดก สิวขึ้นมากกว่าปกติ ผิวมัน ศีรษะล้าน
- อ้วน น้ำหนักเกินมาก ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน เพิ่มอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
อย่างไรก็ตาม หากหมั่นสังเกตตัวเองเสมอ และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรู้ร่องรอยของโรคก่อน จะลดความรุนแรงและปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ค่ะ
#ลดสิวหน้าใส #รักษาสิว #ผิวใส
#เรื่องของเธอ #herstories #เอสโตรเจน #โปรเจสเตอโรน #ฮอร์โมนเพศ #ฮอร์โมนแกว่ง #ประจำเดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง
Her Body
5 วิธี จัดการฮอร์โมนหิว โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน
พ.ย.
Her Face
อยากไว้ผมหน้าม้าแบบ ลิซ่า แต่ทำยังไงไม่ให้สิวขึ้น?
พ.ย.
Her Love
เซ็กส์ให้ปลอดภัย แบบไหนเหมาะกับคุณ
พ.ย.