PMS อารมณ์ร้าย ก่อนมีประจำเดือน
อาการปกติของผู้หญิง แต่ไม่ปกติหากมากเกินไป หนักแค่ไหนควรพบแพทย์
.
PMS คืออาการทางร่างกายและอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ และบางรายเป็นต่อเนื่องไปจนกว่าจะหมดประจำเดือน เช่น อารมณ์หงุดหงิดง่าย เหวี่ยงวีน เจ็บคัดเต้านม ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ฯลฯ
จริง ๆ แล้ว PMS จะไม่ได้รุนแรงมากถึงขั้นต้องพบแพทย์ แต่ในบางรายที่มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย จะมีอาการที่รุนแรงกว่า PMS เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder มักจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งอาการ PMDD มักพบเพียง 2-10% จากจำนวนผู้หญิงที่มีประจำเดือนทั้งหมด ในผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด PMDD ได้มากกว่าคนปกติ อาการเด่น ๆ ของ PMDD มีดังนี้
.
หงุดหงิดง่าย พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 และมักจะไม่สามารถระงับอารมณ์ได้
เศร้า เบื่อหน่าย หดหู่ ท้อแท้และมีความเศร้าเป็นอย่างมาก
วิตกกังวล เป็นอาการที่วิตก กังวลจนเกินเหตุ เช่น กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และมักจะเอาตัวเองออกจากความวิตกกังวลไม่ได้
อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย จะมีอาการหนักว่าคนที่เป็น PMS เวลาโมโหจะโมโหร้าย
หากสังเกตตัวเองแล้วเข้าข่ายทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา อาจจะต้องพึ่งพาการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะ PMDD นอกจากจะส่งผลต่อตัวเองแล้ว ยังส่งผลต่องาน ต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว อีกด้วยค่ะ
.
ปัจจุบันมียาคุมกำเนิดรุ่นใหม่แบบ 24+4 ที่ใช้ฮอร์โมนกลุ่ม Progestin คือ Drospirenone ร่วมกับ Ethinyl Estradiol ที่เป็นฮอร์โมนกลุ่ม Estrogen ที่มีปริมาณฮอร์โมนที่ต่ำมาก และมีช่วงปลอดฮอร์โมนระยะสั้นเพียงแค่ 4 วัน ทำให้ความแตกต่างของระดับฮอร์โมนในช่วงที่กิน “เม็ดยาฮอร์โมน” และ “เม็ดยาหลอก” ไม่แปรปรวนมาก ส่งผลช่วยลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome; PMS) เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ซึมเศร้า เครียด ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน หรือเจ็บคัดตึงเต้านม และลดปัญหาประจำเดือนมามากผิดปกติ สามารถสอบถามหรือปรึกษาเภสัชกรหน้าร้านยาได้เลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
Her Body
5 วิธี จัดการฮอร์โมนหิว โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน
พ.ย.
Her Face
อยากไว้ผมหน้าม้าแบบ ลิซ่า แต่ทำยังไงไม่ให้สิวขึ้น?
พ.ย.
Her Love
เซ็กส์ให้ปลอดภัย แบบไหนเหมาะกับคุณ
พ.ย.