ลิซ่า อายุ 26 ปี พนักงานบริษัทเอกชน
ทำยังไงดี ปกติหนูเป็นคนร่าเริง คุยสนุกสนาน มีเพื่อนมีสังคมเยอะ แต่ทุกครั้งก่อนจะมีประจำเดือนประมาณหนึ่งอาทิตย์ หนูจะกลายเป็นอีกคนหนึ่งเลย อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโหง่าย ใครพูดผิดหูจะปรี๊ดขึ้นทันที เหวี่ยงวีนใส่ทุกคน จนเพื่อนกลัว แฟนก็โดนจนไม่กล้าเข้าใกล้ สมาธิการทำงานก็ไม่มี ทำอะไรก็ฟุ้งซ่านไปหมด ยังไม่นับหน้าดำคล้ำ สิวขึ้นเพียบเหมือนโดนของเลยค่ะ แถมรูปร่างยังบวมๆขึ้นอีก หนูกลัวค่ะ กลัวแฟน กลัวเพื่อนที่ทำงานทนไม่ไหวก็จะเลิกคบ ทุกวันนี้ทางออกของหนูก็คือ พยายามห่างๆคนอื่นไม่อยากเจอใคร เพราะกลัวว่าเวลาคุยกันจะเผลอปล่อยคำพูดไม่ดีออกไป ทำไมต้องเป็นแบบนี้ แล้วจะต้องทำยังไงต่อไปดีคะ
ของขวัญ อายุ 30 ปี แม่บ้าน
เพื่อนๆ บอกว่าฉันโชคดีที่สุด เพราะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ มีสามีที่ดี มีลูกที่น่ารัก แต่ใครจะรู้ว่าฉันต้องทนอยู่กับปัญหาที่ไม่รู้จะแก้ยังไง ใน 1 เดือน จะมีอยู่ 10 วัน ก่อนมีประจำเดือน ที่เหมือนว่าโลกถล่มใส่ฉัน ในระหว่างสัปดาห์นั้นอยู่ดีดีฉันก็มีความเครียด วิตกกังวลกับสิ่งรอบข้างโดยไม่มีสาเหตุ เหมือนเป็นโรคซึมเศร้าแบบชั่วคราว บางครั้งก็ชอบหลงๆลืมๆ ในวันวุ่นๆที่ไหนจะต้องเลี้ยงลูก ไหนจะงานบ้าน ความทุกข์นี้ ทำให้ลูกและสามีรู้สึกแย่ไปกับฉัน ตอนนี้มีอาการนอนไม่หลับ แถมน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาอีก เป็นช่วงเวลาเลวร้ายของร่างกายและจิตใจที่ต้องเจอทุกเดือน ฉันจะผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้มั้ยนะ
“เธอ” คือการผสมผสานฮอร์โมนอย่างสมดุลระหว่าง Estrogen และ Progestogen
ที่พัฒนาขึ้นมาล่าสุด เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการใช้ฮอร์โมนให้เกิดน้อยที่สุด แต่ให้ประโยชน์ในด้านคุมกำเนิดมากที่สุด โดยมี 3 แนวคิดสำคัญ
ลดปริมาณของ Estrogen ให้น้อยลง
เพื่อลดผลข้างเคียง แต่ยังมีประสิทธิภาพที่ดี
Progestrogen
รุ่นใหม่เพื่อประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้น
พัฒนา Regimen 24’s + 4’s เปลี่ยนจาก
ขนาด 21 เม็ด และ 21+7 เป็นแบบ 24+4
เพื่อให้ร่างกายได้มีระดับของฮอร์โมน
อย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความร่วมมือ
และความพึงพอใจในการใช้ยา
ผลกระทบทางด้านร่างกาย ได้แก่
- เจ็บ คัดตึงเต้านม
- ตัวบวม น้ำหนักเพิ่ม
- ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ปวดท้อง ท้องอืด
- เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- มีสิวขึ้น
ผลกระทบทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด
หรือโกรธง่าย - อยากอาหารตลอดเวลา
- เครียดวิตกกังวล ไม่มีสมาธิ
- อ่อนไหว หดหู่ ร้องไห้บ่อย
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
- นอนไม่หลับ
วิธีดูแลอาการ PMS ในกรณีที่มีอาการน้อย ทำได้ด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น กินอาหารที่ดี ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอและหยุดความเครียด และในปัจจุบันมีวิธีรักษาอาการ PMS ด้วยการทำให้ฮอร์โมนมีความสมดุลอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ยาคุมกำเนิดสูตรผสมผสานฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนที่คิดค้นขึ้นมาล่าสุด ด้วยการปรับชนิด และปริมาณของฮอร์โมนให้น้อยลงแต่มีประสิทธิภาพดีขึ้น และพัฒนา Regimen หรือกฎเกณฑ์การรับประทานจากขนาด 21 เม็ดและ 21+7 เป็น 24+4 เพื่อเพิ่มระยะเวลาของการได้รับฮอร์โมนในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลดการเกิดอาการ PMS และ PMDD ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนในร่างกายได้
ลองเช็คลิสต์อาการดูนะคะ หากพบว่ามีอาการดังกล่าว อย่างน้อย 5 อาการ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD จะได้รีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา
ซึมเศร้า หมดหวัง คิดทำร้ายตัวเอง
วิตกกังวล และเครียด
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
อารมณ์ไม่มั่นคง โกรธง่าย
ไม่สนใจชีวิตประจำวัน และไม่สนใจคนรอบข้าง
ไม่มีสมาธิ
อ่อนเพลีย
กินจุ กินบ่อย
นอนไม่หลับ
ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม
ปวดศรีษะ ปวดข้อ